กรอบงานวิจัย

ระบบคมนาคมแห่งอนาคต

ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านระบบคมนาคมแห่งอนาคต การพัฒนาต้นแบบยานพาหนะไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า ระบบขับขี่อัตโนมัติ ระบบราง การบิน หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ การนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาพัฒนาต่อยอด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับไปสู่การสร้างอุตสาหกรรมของไทย

การวิจัยเพื่อยกระดับเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศเพื่อให้ สามารถพึ่งพาตนเองได้และเป็นศูนย์กลาง การผลิตของอาเซียน โดยมีกรอบการพัฒนาทางเทคโนโลยีเริ่มต้นที่ระดับ TRL 4
โดยมีกรอบวิจัยดังนี้
1. การวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (ยานยนต์ทางบก ทางน้ํา ทางอากาศ (Aviation) เช่น รถจักรยานยนต์ ไฟฟ้า เรือไฟฟ้า รถบัสไฟฟ้า รถบรรทุกไฟฟ้า ระบบการขับขี่อัตโนมัติ ระบบอากาศยาน อากาศยานไร้คนขับ และการพัฒนาต้นแบบชิ้นส่วน อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ แพ็ค มอเตอร์ เครื่องปรับอากาศในยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น)

2. การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟ้ฟ้าและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง เช่น การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ ให้ได้รับการยอมรับในระดับสากลหรือได้มาตรฐานระดับสากล
3. การวิจัยออกแบบกระบวนการผลิตหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง (กรอบนี้คาดหวังโครงการสิ้นสุดไม่น้อยกว่าง TRL8) และสามารถแสดงแผนงานการพัฒนาไปที่ ระดับ TRL9 และมีภาคเอกชนร่วมทุน in cash ไม่น้อยกว่า 50% ของเงินทุนที่ใช้ในการทําโครงการ) โดยมีขอบเขตงานดังนี้
1) การพัฒนามาตรฐานด้านเทคนิคและด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น ความปลอดภัยในการอัดประจุไฟฟ้า
2) การออกแบบและพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และ/หรือด้านความปลอดภัยผลิตภัณฑ์
3) การออกแบบและพัฒนาระบบ / กระบวนการ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product) ที่พร้อมใช้งานและสามารถผลิตขึ้นในประเทศไทย ที่ใช้งานได้จริงและพร้อม นําไปขยายผลในเชิงพาณิชย์ (มีการแสดง Feasibility study ที่ครอบคลุมทั้ง Market, Technical และ Financial feasibility)

กรอบการวิจัยมุ่งเป้าด้านเทคโนโลยีระบบราง
1. ระบบขนส่งรางในที่นี้ หมายรวมถึงระบบขนส่งซึ่งนําทางด้วยทางวิ่ง (Guide way transport) ทั้งหลายโดยอาจเป็น
1) ทางวิ่งที่มีรูปลักษณ์ปรากฏชัดเจน เป็นราง เหล็ก เป็นทางวิ่งคอนกรีตหรืออื่นใดซึ่งทําหน้าที่ในลักษณะเดียวกัน หรือ
2) ทางวิ่งเสมือน (Virtual track) ซึ่งทําหน้าที่นําทางยานพาหนะ
2. ระบบขนส่งทางรางในภาพรวมทั้งระบบ จะประกอบด้วย
1) ทางวิ่งและระบบนําทาง
2) ตัวรถสําหรับการโดยสารหรือบรรทุกสินค้า
3) ระบบสัญญาณควบคุมการ เดินรถ
4) ระบบบริการโดยสารหรือขนถ่ายสินค้า และ
5) ระบบเฉพาะสําหรับแต่ละกรณี เช่น ระบบการป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับรถในกรณีรถไฟฟ้า ระบบ interface ระหว่างส่วนประกอบหลักในระบบ ฯลฯ
* หมายเหตุ แต่ละระบบใหญ่ (main system) ประกอบด้วยระบบย่อย (sub-system) ซึ่งอาจแยกย่อยลงไปถึงระดับชิ้นงาน (components)) *
3. ระบบรางทดสอบ (Test track)
4. ข้อเสนอโครงการควรกําหนดขอบเขตของงานวิจัยที่ประสงค์จะขอระบบการสนับสนุนให้ชัดเจนและควรมีความสอดคล้องกับแผนงานจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐหรือ คาดว่าน่าจะนําไปสู่การใช้งานจริงได้ในระยะเวลาอันสั้น ตัวอย่างเช่น (ไม่จํากัดอยู่เพียงเท่านี้) งานวิจัยเกี่ยวกับระบบตัวรถ (Rolling stocks)
– รถบรรทุกตู้สินค้าและอุปกรณ์ส่วนควบ
– รถโดยสารและอุปกรณ์ส่วนควบ
– รถจักรไฟฟ้า หรือ ดีเซลไฟฟ้าและระบบ interface เช่น ระบบรับกระแสไฟฟ้า ระบบรับสัญญาณควบคุมการเดินรถ แล้วแต่กรณี
– รถชุดไฟฟ้าราง (Electric Multiple Unit: EMU) หรือ รถชุดดีเซลราง (Diesel Multiple Unit: DMU) และระบบ interface เช่นระบบรับกระแสไฟฟ้า ระบบรับ สัญญาณควบคุมการเดินรถ แล้วแต่กรณี
– รถแบบอื่นๆ เช่น รถรางเบา รถรางเดี่ยว พร้อมทั้งอุปกรณ์ส่วนควบและระบบ Interface แล้วแต่กรณี
กรณีที่อ้างอิงแผนจัดซื้อจัดจ้างจากภาครัฐ แต่แผนเหล่านั้นยังไม่มีความชัดเจนของรายละเอียดทางด้านเทคนิค ผู้ดําเนินโครงการสามารถกําหนดรายละเอียด ข้อกําหนดทางด้านเทคนิคอ้างอิงจากรถรุ่นที่มีใช้อยู่หรือคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของข้อกําหนดมาเพื่อพิจารณาได้

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *