
สร้างความพร้อมด้านนวัตกรรมโลจิสติกส์ในประเทศ ความเป็นมาตรฐานเพื่อเพิ่มโอกาสการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานที่มีการเชื่อมต่อเส้นทางเครือข่ายโลจิสติกส์ เพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางราง และการเปลี่ยนถ่ายที่ต่อเนื่องราบรื่น
ขอบเขตงานวิจัย
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีการบริหารจัดการระบบขนส่งและการเชื่อมโยงการค้าการลงทุน
1.1 ระบบการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน
1.2 การบริหารจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและบริการดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงการค้าการลงทุน และอำนวยการความสะดวกด้านการค้า - นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการระบบคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง
2.1 การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและบริการดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับระบบการบริหารจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง
2.2 การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและศูนย์บริการโลจิสติกส์ - นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการระบบราง
3.1 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการและการจัดการทรัพยากรการขนส่งสินค้าทางราง
3.2 การยกระดับและการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานที่ลงทุนโดยภาครัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อการขนส่งทางรางกับการขนส่งรูปแบบอื่น
3.3 การพัฒนารูปแบบธุรกิจ (Business Model) และรูปแบบความร่วมมือทางธุรกิจ (cooperative model) เพื่อสนับสนุนการขนส่งทางรางทั้งภายในและระหว่างประเทศ
ตัวอย่างโจทย์วิจัย
- การพัฒนาระบบโลจิสติกส์โดยการใช้ระบบสารสนเทศ E-logistics และ Digital platform ในการบริหารจัดการด้านการขนส่งและจัดเก็บสินค้า
- ระบบการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Data analytics and Big data) เพื่อการวิเคราะห์และต่อยอดธุรกิจ
- การเสริมสร้างศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์
- การพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมโยงการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ระหว่างท่าเรือ ระบบราง ถนน และท่าอากาศยาน
- กฎระเบียบและข้อบังคับเรื่องการคิดอัตราค่าระวางและค่าใช้จ่ายๆต่าง เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้และการให้บริการ