คู่มือและแบบฟอร์ม บพข.

คู่มือการส่งข้อเสนอโครงการ บพข.

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) มีภารกิจจัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ รวมถึงทุนสนับสนุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างตลาดนวัตกรรม การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาแพลตฟอร์มทางนวัตกรรมในภาคการผลิตและภาคบริการ ทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการเพื่อการให้บริการด้านคุณภาพและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้ การให้ทุนดังกล่าวมุ่งเน้นการสนับสนุนแผนงานที่มีความร่วมมือหรือการร่วมลงทุนกับผู้ใช้ประโยชน์ เช่น SMEs และภาคอุตสาหกรรม เป็นสำคัญ

ประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) สำหรับการจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรม

บพข. ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ขอรับ การจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรมและผู้ได้รับการจัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรม โดยมีนโยบายและมีความมุ่งมั่นรับผิดชอบในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานอันเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ดังนั้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย สอวช. จึงได้จัดทำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว เพื่อแจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมการใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตาม QR Code นี้

  • สถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน
  • หน่วยงานที่ส่งข้อเสนอโครงการต้องมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัย และมีประสบการณ์ การบริหารจัดการงานวิจัย สามารถสนับสนุนการทำงานงานวิจัย และควบคุมการวิจัยได้ตลอดเวลาการรับทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
    – กรณีผู้เสนอขอรับทุนเป็นเอกชน จะสามารถรับทุนจาก บพข. ได้ไม่เกิน 1 โครงการ และหากยังมีโครงการ ที่ดำเนินการอยู่จะไม่สามารถรับทุนเพิ่มได้
  • หัวหน้าโครงการต้องเป็นบุคลากรในสังกัดของผู้เสนอขอรับทุนจอรับทุน
  • หัวหน้าโครงการ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเชี่ยวชาญตรงตามสาขาที่ดำเนินการวิจัยมีความพร้อมในด้านเวลาที่จะดำเนินโครงการวิจัยให้สำเร็จ ภายในระยะเวลาของโครงการที่เสนอ และไม่เป็นผู้ติดค้างการส่งรายงานของโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนวิจัยต่าง ๆ  โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
    – กรณีสถาบันการศึกษาและหน่วยงานรัฐ : นักวิจัย 1 คน สามารถเป็นหัวหน้าโครงการที่ได้รับทุนจาก บพข. และ
    ยังดำเนินโครงการอยู่ รวมกันได้ไม่เกิน 3 โครงการ
  • ผู้รับทุนซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐต้องจัดให้มีระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดสรรรายได้ให้แก่นักวิจัยในกรณีที่มีรายได้จากการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ และให้ผู้รับทุนจัดสรรรายได้ให้แก่นักวิจัยตามระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือหลักเกณฑ์นั้น
  • ผู้รับทุนซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนหรือภาคประชาสังคมต้องจัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างผู้รับทุนกับนักวิจัยเกี่ยวกับการจัดสรรรายได้ในกรณีที่มีรายได้จากการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ และให้ผู้รับทุนเสนอสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวให้ผู้ให้ทุนเพื่อประกอบการทำสัญญาให้ทุน และเมื่อมีรายได้จากการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์แล้ว ให้ผู้รับทุนจัดสรรรายได้ให้แก่นักวิจัยตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น เพื่อใช้แนบสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่งไว้ท้ายสัญญาให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม

หมายเหตุ: รายละเอียดข้อตกลงการจัดสรรรายได้ให้แก่นักวิจัย ในหน้า 12

ผู้ให้ทุนร่วม หมายถึง สถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนที่ร่วมสนับสนุนทุนวิจัยกับ บพข. ให้แก่ผู้รับทุน โดยสามารถร่วมสนับสนุนทุนได้ไม่จำกัดจำนวนโครงการ

สัดส่วนการสนับสนุน In-cash และ การสนับสนุน In-kind ให้เป็นไปตามประกาศรับข้อเสนอโครงการของ บพข.

บพข. สนใจโครงการวิจัยที่มุ่งให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือเชิงสาธารณะ โดยมีผู้ร่วมลงทุนวิจัย มีผู้ใช้ประโยชน์ที่ชัดเจน ในโครงการให้ทุนร่วมกับภาคเอกชนจะต้องมีเอกสารการระบุความร่วมมือ หรือหนังสือแสดงเจตนาร่วมทุน ส่วนโครงการที่ผู้ขอรับทุนเป็นเอกชน บพข. ต้องการให้มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยใน การทำวิจัย จึงขอให้มีหนังสืออนุญาตให้ร่วมทำวิจัยจากต้นสังกัดของนักวิจัยด้วย

เนื่องจาก บพข. เน้นการสนับสนุนทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ ดังนั้น เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ นักวิจัยต้องเป็นเจ้าของเทคโนโลยี และข้อเสนอโครงการวิจัยต้องมี TRL หรือ SRL ระดับ 4 ขึ้นไป โดยต้องแนบเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงระดับ TRL หรือ SRL นั้น ๆ ไว้ในข้อเสนอโครงการวิจัยด้วย เว้นแต่จะมีการประกาศโจทย์วิจัยที่มีการระบุ TRL ไว้เป็นระดับอื่น 

นอกจากนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงการจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศได้อย่างไร บพข. ขอให้จัดทำ Impact pathway ตามแบบฟอร์มที่ บพข. กำหนดไว้ในข้อเสนอโครงการด้วย

หมายเหตุ: รายละเอียดของเอกสารแสดงระดับ TRLหรือ SRL และ การจัดทำ Impact pathway ในหน้า 18

            “ทุนวิจัย” หมายความว่า ทุนสนับสนุนโครงการซึ่งรวมทั้งทุนสนับสนุนในลักษณะเป็นเงินสด (In-cash) และทุนสนับสนุนในลักษณะอย่างอื่นที่มิใช่เงินสด (In-kind) ที่ บพข. ให้แก่ผู้รับทุน

            “เงินทุน” หมายถึง ทุนสนับสนุนในลักษณะเป็นตัวเงิน (In-Cash) ที่ บพข. และผู้ให้ทุนร่วมมอบให้แก่ผู้รับทุน 

           “การสนับสนุน In-Cash” หมายถึง ทุนสนับสนุนในลักษณะเป็นตัวเงิน (In-Cash)  (ในกรณีที่หน่วยงาน
ผู้รับทุนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผู้ให้ทุนร่วมจะต้องสนับสนุนทุนในจำนวนที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) ทั้งนี้ผู้ให้ทุนร่วมต้องสนับสนุนค่าธรรมเนียมอุดหนุนสถาบัน ให้แก่ผู้รับทุนที่เป็นสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐ และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรในส่วนทุนสนับสนุนในลักษณะเป็นตัวเงิน (In-Cash) ของผู้ให้ทุนร่วมเอง

           “การสนับสนุน In-Kind” หมายถึง ทุนสนับสนุนในลักษณะอย่างอื่นที่มิใช่ตัวเงิน (In-Kind) เช่น ค่าแรง
ของบุคลากรของผู้ให้ทุนร่วมหรือผู้รับทุนภาคเอกชน ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้วัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรหรือค่าวิเคราะห์ทดสอบ ของผู้ให้ทุนร่วมหรือผู้รับทุนภาคเอกชน ซึ่งต้องประเมินมูลค่าเป็นตัวเงินและต้องแสดงวิธีการคำนวณค่าใช้จ่าย
ที่ผู้ให้ทุนร่วมสนับสนุนเป็น in-kind อย่างสมเหตุสมผล เช่น in-kind หมวดวิเคราะห์ทดสอบโดยใช้เครื่องมือของผู้ให้ทุนร่วม ควรมีราคาตลาดของค่าวิเคราะห์ทดสอบนั้น ๆ เป็นตัวเทียบ หรือการใช้อุปกรณ์ เครื่องจักรของผู้ให้ทุนร่วม ให้เทียบเป็นค่าเช่า หากมีการจ้างบุคคลภายนอกมาร่วมดำเนินงานวิจัยในโครงการ ให้คำนวณเป็นสัดส่วนภาระงาน (FTE) เป็นต้นและต้องมิใช่เงินลงทุนของผู้ให้ทุนร่วมหรือผู้รับทุนภาคเอกชน

ตัวอย่าง การคำนวณค่าใช้อุปกรณ์เครื่องจักรและค่าแรงงาน

  • ค่าใช้เครื่องจักร : เครื่องอัดร้อน เวลาที่ใช้ทดลองในโครงการ 50 ชั่วโมง มูลค่าเครื่อง 500,000 บาท อายุ
    การใช้งานเครื่อง 10,000 ชั่วโมง (หมายถึงอายุที่ใช้คิดค่าเสื่อมราคา ไม่ใช่ความเก่าของเครื่อง)
  • ค่าคนงานช่วยเตรียมวัสดุ : เวลาที่ให้ทำงาน 10 วัน อัตราเงินเดือน 15,000 บาท

หมายเหตุ:

  • ตัวหารในการคำนวณคือ 20 วัน (คิดโดยเฉลี่ย 1 เดือนทำงาน 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน รวม 20 วัน)
  • ผู้ให้ทุนร่วมจะต้องลงนามในหนังสือแสดงเจตนาการร่วมทุนวิจัยโครงการรายละเอียดในหน้า 18

2.1.1 หมวดค่าจ้าง (เงินเดือน)

หมายถึง การจ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้ช่วยนักวิจัยเต็มเวลา ตามคุณวุฒิ ประสบการณ์และอัตราเงินเดือนไม่เกินที่ระบุไว้ในข้อเสนอโครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยค่าจ้างแตกต่างจากค่าใช้สอย ตรงที่ค่าจ้างจะจ่ายโดยใช้ เวลา เป็นฐาน (Time-based) เช่น ค่าจ้างผู้ช่วยนักวิจัย ส่วนค่าใช้สอยนั้นจะจ่ายโดยใช้ ชิ้นงาน เป็นฐาน (Task-based) คือ การเหมาจ่ายเป็นชิ้นงานเมื่อทำเสร็จ

  • การบรรจุบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัยในครั้งแรก จะต้องบรรจุในอัตราค่าจ้างขั้นต้นของตำแหน่งนั้น ๆ เว้นแต่บุคคลนั้น มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย โดยมีหนังสือรับรองจากที่ทำงานเดิม อาจให้ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามจำนวนปีที่มีประสบการณ์
  • ผู้ช่วยนักวิจัยที่ปฏิบัติงานดีและปฏิบัติงานมาครบ 1 ปี หากหัวหน้าโครงการมีความประสงค์จะจ้างต่อเนื่อง(เฉพาะโครงการที่มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป) หัวหน้าโครงการสามารถเพิ่มเงินเดือนลูกจ้างได้ โดยมีอัตราเงินเดือนเพิ่มเฉลี่ยไม่เกิน 7 – 10 % (ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม) ทั้งนี้การเลื่อนเงินเดือนสามารถทำได้เฉพาะในกรณีขึ้นสัญญาใหม่และมีการระบุไว้ในข้อเสนอโครงการฉบับทำสัญญา ตั้งแต่ต้น
  • นิสิตนักศึกษาที่ช่วยงานในโครงการ หัวหน้าโครงการอาจพิจารณาจ้างเป็นช่วงๆ ตามระยะเวลาที่ทำงาน หรือจ้างเป็นรายเดือนก็ได้ หากจ้างเป็นรายเดือนให้ใช้เกณฑ์ตามวุฒิขั้นสุดท้ายเป็นอัตราเงินเดือนเต็มคูณด้วยสัดส่วนของเวลาการจ้าง เช่น หนึ่งในสี่ หนึ่งในสาม หรือครึ่งหนึ่งของเวลาทำงาน ตามดุลยพินิจของหัวหน้าโครงการ นิสิตนักศึกษาที่ยังมี Course work อยู่ ไม่ควรคิดเวลาการจ้างเกินครึ่งหนึ่งของเวลาเต็ม นิสิตนักศึกษาที่เรียน Course work ครบแล้ว และทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว สามารถจ้างในสัดส่วนเวลาที่สูงกว่านี้ได้
  • ผู้ช่วยนักวิจัยที่ได้รับค่าจ้างแล้ว ไม่มีค่าล่วงเวลา
วุฒิการศึกษาอัตราค่าจ้างต่อเดือน (บาท)
ปริญญาเอก 39,000
ปริญญาโท 29,500
ปริญญาตรี 22,000
ตารางที่ 1  แสดงอัตราค่าจ้างขั้นต้นของนักวิจัยผู้ช่วยและนักวิจัยเต็มเวลา

หมายเหตุ

  • ค่าจ้าง (เงินเดือน) เป็นงบประมาณในหมวดค่าบุคลากรที่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับประกันไว้แล้ว
  • หมวดค่าจ้างและหมวดค่าตอบแทน รวมแล้วไม่ควรเกิน 30% ของงบประมาณรวม (in-cash) ของโครงการที่หักครุภัณฑ์แล้ว เว้นแต่โครงการวิจัยที่เป็นด้านการพัฒนา software อาจจะได้หมวดค่าตอบแทนและค่าจ้าง รวมได้ถึง 60-70% ของงบประมาณรวมของโครงการที่หักครุภัณฑ์แล้ว ทั้งนี้ บพข. จะพิจารณาสัดส่วนในหมวดนี้ตามความเหมาะสมของเนื้องานในโครงการ
  • ค่าจ้างเหมาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ใส่ไว้ในหมวดค่าใช้สอย

2.2.1 หมวดค่าตอบแทน

เป็นเงินที่จ่ายให้แก่นักวิจัยซึ่งสามารถแบ่งเวลามาทำการวิจัยได้ ไม่เสียหายต่องานในความรับผิดชอบประจำ
โดยความยินยอมของต้นสังกัด

การคำนวณอัตราค่าตอบแทน

อัตราค่าตอบแทนต่อปี = A × B × C

A = อัตราเงินเดือนปัจจุบันที่ได้รับจากต้นสังกัด (ไม่รวมผลประโยชน์ตอบแทนอื่น)

B = ร้อยละของเวลาปฏิบัติงานวิจัยในโครงการวิจัย (FTE – เวลาที่ทำงานจริงในโครงการ)

C = องค์ประกอบตัวคูณในช่วง 1.0-1.75 (พิจารณาจากความรับผิดชอบในโครงการ)

วุฒิการศึกษาประสบการณ์ ในการทำงาน (ปี)อัตราเงินเดือนพื้นฐาน (บาท/เดือน)
ปริญญาตรี0-4ไม่เกิน 24,000
5-1024,000 – 33,800
11-1538,300 – 48,800
16-2051,800 – 65,500
21-2568,900 – 83,000
26-3086,500 – 106,800
30 ปีขึ้นไป128,900
ปริญญาโท0-4ไม่เกิน 31,300
5-1031,300 – 40,700
11-1545,400 – 57,000
16-2061,200 – 74,900
21-2579,400 – 94,000
26-3097,800 – 121,200
30 ปีขึ้นไป128,900
วุฒิการศึกษาประสบการณ์ ในการทำงาน (ปี)อัตราเงินเดือนพื้นฐาน (บาท/เดือน)
ปริญญาเอก0-4ไม่เกิน 46,700
5-1046,700 – 62,000
11-1566,200 – 80,700
16-2085,700 – 102,300
21-25106,500 – 124,000
26-30128,500 – 153,800
30 ปีขึ้นไป168,600
ตารางที่ 2 ค่า A (ใช้สำหรับคำนวณค่าตอบแทน) สรุปอัตราเงินเดือนพื้นฐานกลุ่มงานวิจัย ตามคุณวุฒิการศึกษา แยกเป็นช่วงๆ ละ 5 ปี

หมายเหตุ: อ้างอิงจากหลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0903/ว 99 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2546

เวลาที่ใช้จริงใน การทำงาน (%)ค่า Bเวลาที่ใช้จริงใน การทำงาน (%)ค่า B
50.6556.6
101.2607.2
151.8657.8
202.4708.4
253.0759.0
303.6809.6
354.28510.2
404.89010.8
455.49511.4
506.010012.0
ตารางที่ 3 ค่า B แสดงร้อยละของเวลาปฏิบัติงานวิจัยในโครงการวิจัย (FTE – เวลาที่ทำงานจริงในโครงการ)

หมายเหตุ : สำหรับนักวิจัยที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

ก. เวลาทำการใน 1 วัน หรือเท่ากับ 8 ชั่วโมง เทียบเป็น 100%

ข. เวลาปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ เช่น งานสอนหนังสือ และอื่นๆ เท่ากับ 60% ดังนั้น เวลานอกเหนือจากการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบใน 1 วัน คือ เวลาที่นักวิจัยจะใช้เพื่อทำวิจัยไม่เกิน 40% (ยกเว้นกรณีเป็นนักวิจัยเต็มเวลาในมหาวิทยาลัย

ความรับผิดชอบในโครงการค่า C
หัวหน้าโครงการ1.75
ผู้ร่วมโครงการมีความรับผิดชอบมากกว่า 50%1.5
ผู้ร่วมโครงการมีความรับผิดชอบน้อยกว่า 50%1
ตารางที่ 4 ค่า C องค์ประกอบตัวคูณในช่วง 1.0 1.75 (พิจารณาจากความรับผิดชอบในโครงการ)

2.2.2 หมวดค่าใช้สอย

หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการวิจัย เช่น ค่าจ้างวิเคราะห์ตัวอย่าง ค่าเดินทางระหว่างปฏิบัติงาน ค่าจ้างผลิตหรือทำอุปกรณ์ค่าจ้างเหมา เป็นต้น

  • หมวดค่าจ้างวิเคราะห์ตัวอย่าง  เป็นการวิเคราะห์ตัวอย่างที่โครงการวิจัยฯ ไม่สามารถวิเคราะห์ได้เอง เช่น การวิเคราะห์ตัวอย่างที่ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง หรือมีการบริการ ทั้งนี้ให้ระบุชนิดและประเภท การวิเคราะห์ และจำนวนตัวอย่างที่จะวิเคราะห์ รวมทั้งระบุสถานที่ที่นำตัวอย่างไปวิเคราะห์ด้วย  
  • ค่าเดินทางระหว่างปฏิบัติการในโครงการ เป็นค่าเดินทางเพื่อปฏิบัติงานในโครงการวิจัยฯ ให้แจ้ง รายละเอียดต่าง ๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าเบี้ยเลี้ยง เป็นต้น และควรระบุจำนวนครั้งที่เดินทาง เพื่อใช้ใน การเปรียบเทียบกับแผนการดำเนินงาน
  • ค่าจ้างเหมา เป็นรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ รายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินโครงการในลักษณะเหมาจ่ายเป็นชิ้นงาน หรือจ่ายเมื่อส่งมอบงานเป็นคราว ๆ และรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายอื่น ๆ

หมายเหตุ: เนื่องจาก บพข. มุ่งเน้นการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นไม่สนับสนุนค่าเดินทางไปต่างประเทศเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการ

2.2.3 หมวดค่าวัสดุ

หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ จัดหา วัสดุวิทยาศาสตร์ และ/หรือ วัสดุสำหรับงานวิจัย (ไม่รวมวัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ เครื่องเขียน เป็นต้น) ทั้งนี้ให้ระบุรายละเอียดและแจงรายการเท่าที่จะทำได้ เช่น ค่าสารเคมี เครื่องแก้ว และอาหารเลี้ยงเชื้อ เป็นต้นโดยทั่วไป วัสดุ จะมีมูลค่าไม่สูงและไม่มีลักษณะคงทนถาวร โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  • วัสดุสิ้นเปลือง หรือ สิ่งของที่มีลักษณะโดยสภาพไม่คงทนถาวร หรือมีอายุการใช้งานไม่ยืนนาน หมดไป หรือเปลี่ยนสภาพไปในระยะเวลาอันสั้น และรวมทั้งสิ่งของที่มีลักษณะการใช้งานยาวนาน ตัวอย่างเช่น อะไหล่เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
  • วัสดุที่มีราคาสูง เช่น อัญมณี โลหะมีค่า ซึ่งจำเป็นต้องซื้อเพื่อใช้ในการทดลอง ต้องมีทะเบียนวัสดุเฉพาะ ซึ่งระบุข้อมูลของวัสดุที่จัดซื้อแต่ละครั้ง เช่น น้ำหนัก ลักษณะรูปถ่าย จำนวน สี และอื่น ๆ และหัวหน้าโครงการลงนามรับรอง (ในกรณีมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท) หรือกรรมการ 3 คน ลงนามรับรอง (ในกรณีมูลค่าเกิน 50,000 บาท) และเมื่อสิ้นสุดโครงการ จะต้องจำหน่ายวัสดุเหล่านี้เพื่อคืนเงินให้แก่ บพข. เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น และรวมถึงรายจ่ายดังต่อไปนี้ ให้ถือเป็นค่าวัสดุ/อุปกรณ์ด้วย
    1) รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงวัสดุ
    2) รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของที่ใช้ในการซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
    3) รายจ่ายที่ต้องชำระพร้อมกับค่าวัสดุ เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง เป็นต้น
    4) รายจ่ายสำหรับสัตว์ทดลอง (เช่น หนู กระต่าย) ที่ต้องจัดหามาเพื่อการวิจัยในลักษณะของการทดสอบในสัตว์ หลังการวิจัยแล้วไม่สามารถใช้ประโยชน์ต่อได้

หมายเหตุ : ประเภทและอัตราค่าใช้จ่ายของวัสดุ ครุภัณฑ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่าย ประกอบ การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่เบิกจ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ และค่าสาธารณูปโภคของกองมาตรฐานงบประมาณ 1 สำนักงบประมาณ

2.2.4 หมวดค่าจัดทำต้นแบบ

หมายถึง ค่าใช้จ่ายสำหรับทำต้นแบบงานวิจัย ที่เป็นต้นแบบที่ไม่มีผลิตเชิงพาณิชย์ในประเทศ ซึ่งถือเป็นผลงานวิจัย โดยสิ่งของที่จัดหามาเพื่อทำต้นแบบอาจจะมีลักษณะเป็นครุภัณฑ์หรือวัสดุ หรืออาจจะเป็นการจัดจ้างเพื่อสร้างหรือประกอบตามแบบที่นักวิจัยคิดค้น ดังนั้น การจัดซื้อ-จัดจ้าง ให้เป็นไปตามสภาพสิ่งของและให้เป็นไปตามระเบียบของผู้รับทุน

การจัดซื้อวัสดุหรือครุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อนำมาสร้างหรือประกอบเป็นต้นแบบ ที่มีสภาพคงทนถาวร ใช้งานได้นานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป ให้ผู้รับทุนรายงานต้นแบบดังกล่าวเป็นครุภัณฑ์ของโครงการ ในระบบข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Information System: NSTIS) เมื่อโครงการเสร็จสิ้น เว้นแต่มีการตกลงให้ต้นแบบเป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยงานอื่น

ทั้งนี้ ควรแยกหมวดค่าจัดทำต้นแบบ ออกจากค่าครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ให้ชัดเจน

กรณีผู้ให้ทุนร่วม มีความประสงค์จะนำต้นแบบที่เกิดขึ้นในโครงการวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ จะต้องสนับสนุนในลักษณะเป็นตัวเงิน (In-Cash) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของหมวดค่าจัดทำต้นแบบ

และโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ที่มีราคาหน่วยหนึ่งไม่เกิน 20,000 บาท ให้เบิกจ่ายในลักษณะค่าวัสดุ (ถ้าเกิน 20,000 บาท ถือเป็นครุภัณฑ์)

2.3.1 หมวดครุภัณฑ์

  • บพข. มีเจตนารมณ์สนับสนุนงบประมาณสำหรับการทำโครงการวิจัยเท่านั้น ดังนั้นการซื้อครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์ จึงต้องคำนึงถึงความจำเป็น และความเหมาะสม หากมีหน่วยงานอื่นให้บริการการใช้ครุภัณฑ์ดังกล่าว สามารถตั้งงบประมาณการใช้ครุภัณฑ์ไว้ในหมวดค่าใช้สอยได้ ทั้งนี้ ไม่สนับสนุนครุภัณฑ์ที่เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำนักงาน เนื่องจากเป็นครุภัณฑ์ที่หน่วยงานควรจัดหาให้
  • ค่าครุภัณฑ์  หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ สิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปีขึ้นไป และมีราคาหน่วยหนึ่ง หรือชุดหนึ่งมูลค่าตั้งแต่ 10,000 บาท
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ที่มีราคาหน่วยหนึ่งเกิน 20,000 บาท ถือเป็นครุภัณฑ์
  • เนื่องจากการอนุมัติครุภัณฑ์จะอนุมัติเป็นรายการ ไม่สามารถถัวเฉลี่ยได้ และงบประมาณคงเหลือจากการจัดซื้อครุภัณฑ์ต้องส่งคืน บพข. ดังนั้น ควรคำนวณงบประมาณสำหรับครุภัณฑ์แต่ละรายการให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ด้วยเช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าพิธีการศุลกากร ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง
  • ให้ผู้รับทุนรายงานครุภัณฑ์ของโครงการ ในระบบข้อมูลสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Information System: NSTIS) เมื่อโครงการเสร็จสิ้น

หมายเหตุ : ประเภทและอัตราค่าใช้จ่ายของวัสดุ ครุภัณฑ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และอัตราค่าใช้จ่าย ประกอบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่เบิกจ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ และค่าสาธารณูปโภคของกองมาตรฐานงบประมาณ 1 สำนักงบประมาณ

หมายถึง ค่าบำรุงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของสถาบัน ซึ่งจัดสรรให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดของนักวิจัยในโครงการ ได้แก่ สถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐ และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เป็นจำนวนรวมไม่เกินร้อยละ 10 (สิบ) ของเงินทุนของโครงการที่ไม่รวม
1) ค่าครุภัณฑ์
2) ค่าตอบแทนนักวิจัยของโครงการพัฒนานักวิจัยหลังปริญญาเอก ปริญญาเอก หลังปริญญาโท และปริญญาโท
3) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ
4) ค่าจัดนิทรรศการ

ซึ่งเป็นไปตาม ประกาศ กสว. เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินอุดหนุนของหน่วยบริหารและจัดการทุนซึ่งได้รับเงินอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565 ข้อ 7 วรรค 2 “ทั้งนี้ ค่าบำรุงสถาบันของโครงการ (overhead) เบิกจ่ายไม่เกินร้อยละ 10 ของงบดำเนินงานของโครงการ …” (ความเห็น กสว. จากการประชุมครั้งที่ 9/2565 วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565)

โดยจะเบิกจ่ายในเงินงวดสุดท้ายภายหลังจากโครงการดำเนินการเสร็จสิ้น ทั้งนี้ หากโครงการที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาตามสัญญา และเป็นโครงการผิดสัญญา บพข. จะระงับการเบิกจ่ายเงินงวดสุดท้าย กรณีโครงการที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาและได้รับการอนุมัติขยายเวลาสิ้นสุดโครงการ ถือว่า มีสถานะอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ ไม่นับเป็นโครงการผิดสัญญา (มติ กสว. จากการประชุมครั้งที่ 10/2565 วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565)

  • เงินค่าธรรมเนียมอุดหนุนสถาบันนี้ ให้ใช้ในกิจกรรมทางวิชาการที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยให้กับสถาบัน เช่น การพัฒนาบุคลากรเชิงวิชาการทั้งระยะสั้นและระยะยาว การปรับปรุงสถานที่และอุปกรณ์ การสอนหรือการวิจัย หรือสร้างเครือข่ายทางวิชาการทั้งในและระหว่างประเทศ และค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น การจัดสรรเงินค่าบำรุงสถาบันให้เป็นไปตามระเบียบของ ผู้รับทุน
  • โครงการวิจัยที่มีงบประมาณรวมมากกว่า 10 ล้านบาท บพข. ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาค่าค่าธรรมเนียมอุดหนุนสถาบัน (overhead) เป็นกรณีพิเศษตามลักษณะของโครงการ 
  • หากโครงการมีผู้ร่วมโครงการจากหลายสถาบันหรือหลายหน่วยงาน การจ่ายเงินดังกล่าวจะจ่ายให้แก่หน่วยงานต้นสังกัดของหัวหน้าโครงการเท่านั้น นอกจากจะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเมื่อรวมแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของงบดำเนินการโครงการ
  • ผู้ให้ทุนร่วมต้องสนับสนุนค่าธรรมเนียมอุดหนุนสถาบัน (overhead) ให้แก่ผู้รับทุนที่เป็นสถาบันการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐ และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ในส่วนทุนสนับสนุนในลักษณะเป็นตัวเงิน (In-cash) ของผู้ให้ทุนร่วมเอง
หมายเหตุ: ให้ปรับงบประมาณเป็นจำนวนเต็มหลักพันบาท

3.1 นักวิจัยจัดทำข้อเสนอโครงการ โดยใช้แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการของ บพข. โดยสามารถ download ได้จาก  เอกสารแนบท้ายประกาศรับข้อเสนอโครงการ หรือ https://pmuc.or.th/ หัวข้อยื่นข้อเสนอโครงการ

3.2 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตราที่ 10 ของ พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ผู้รับทุน และผู้ให้ทุนร่วมควรตกลงเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของในผลงานวิจัย และหน้าที่ในการบริหารผลงานวิจัย โดยผลงานวิจัยที่ตกลงกัน ควรตรงกับที่ระบุในข้อเสนอโครงการ

3.3 submit ข้อเสนอโครงการผ่านระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เว็บไซต์ http://nriis.nrct.go.th/พร้อมทั้งแนบข้อเสนอโครงการตามรูปแบบที่ บพข. กำหนด ทั้ง file word และ pdf. ในระบบ NRIIS ด้วย ทั้งนี้ บพข. จะใช้ข้อเสนอโครงการจากแบบฟอร์มที่กำหนดในการพิจารณา

      สามารถดาวน์โหลดคู่มือการส่งข้อเสนอโครงการในระบบ NRIIS ได้ที่ https://nriis.go.th/Manual.aspx

กรณีที่ยังไม่มีข้อมูลหน่วยงานต้นสังกัดในระบบ NRIIS ขอให้ท่านติดต่อเจ้าหน้าที่ดูและระบบ NRIIS เพื่อขอเพิ่มผู้ประสานงานหรือหัวหน้าหน่วยงาน สำหรับกดรับรองในครั้งต่อไป และในการประกาศทุนครั้งถัดไป หากหน่วยงานของท่านยังไม่ได้แจ้งเพิ่มผู้ประสานหน่วยงานหรือหัวหน้าหน่วยงานในระบบ NRIIS และ/หรือไม่กดรับรองโครงการในระบบ บพข. จะขอสงวนสิทธิในการรับข้อเสนอโครงการจากหน่วยงานของท่าน

3.5 บพข. ตรวจสอบรายละเอียด ความสมบูรณ์ และพิจารณาข้อเสนอโครงการ ดังนี้

3.5.1 เกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอโครงการเบื้องต้น

  • ข้อเสนอโครงการเป็นโครงการเดี่ยวหรือชุดโครงการวิจัยที่มีโครงการวิจัยเดี่ยวตั้งแต่ 2 โครงการขึ้นไปและเป็นไปตามเงื่อนไขของประกาศทุนที่ระบุไว้
  • มีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนสอดคล้องตามแนวทางประกาศทุน
  • หน่วยงานต้นสังกัดของหัวหน้าโครงการ ต้องมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัย และมีประสบการณ์การบริหารจัดการงานวิจัย สามารถสนับสนุนการทำงานงานวิจัย และควบคุมการวิจัยได้ตลอดเวลาการรับทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • หัวหน้าโครงการ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเชี่ยวชาญตรงตามสาขาที่ดำเนินการวิจัย มีความพร้อมในด้านเวลาที่จะดำเนินโครงการวิจัยให้สำเร็จ ภายในระยะเวลาของโครงการที่เสนอ และไม่เป็นผู้ติดค้างการส่งรายงานวิจัยของโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนวิจัยต่างๆ  โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร 
  • เป็นโครงการที่มี TRL หรือ SRL ระดับ 4 ขึ้นไป โดยนักวิจัยเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ทั้งนี้ ยกเว้นโจทย์วิจัยที่มีการระบุ TRL หรือ SRL ไว้เป็นระดับอื่น (ให้แนบเอกสาร/หลักฐานที่แสดงระดับของ TRL หรือ SRL
     ในข้อเสนอโครงการด้วย)
  • สัดส่วนการสนับสนุน In-cash และ การสนับสนุน In-kind ให้เป็นไปตามประกาศรับข้อเสนอโครงการ
    ของ บพข.

3.5.2 เกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอโครงการโดยละเอียด

  • การพิจารณาข้อเสนอโครงการโดยละเอียดทั้งในมิติของเทคนิคและธุรกิจ โดยการให้คะแนนจาก การประเมินเอกสารข้อเสนอโครงการ จากผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 3 ท่าน และเสนอคณะอนุกรรมการเฉพาะแผนงาน/คณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณา

บพข.จะประกาศผลโครงการที่ได้รับทุน โดยทำหนังสือแจ้งให้หน่วยงานต้นสังกัดและหัวหน้าโครงการทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำสัญญา

ผู้ร่วมทำงานทุกฝ่ายควรมีการตกลงสิทธิและการบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่การพัฒนาข้อเสนอโครงการร่วมกัน โดยพิจารณาทรัพย์สินทางปัญญาและผลงานเดิมที่มีมาก่อน รวมถึงผลงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายใต้ข้อเสนอโครงการ และให้ตกลงสิทธิในการบริหารจัดการผลงานวิจัยให้เรียบร้อยก่อน โดยใช้ข้อตกลงสิทธิและการบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นแนวทางในการเจรจา เพื่อใช้แนบในสัญญาหลังจากที่โครงการอนุมัติ

หมายเหตุ: รายละเอียดข้อตกลงสิทธิและการบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในหน้า 15

4.-คู่มือในการส่งข้อเสนอโครงการของ-บพข-final-ver

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *