
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาครัฐ และเอกชน ร่วมจัดงานสัมมนาวิชาการ “Unlocking the Plastics Circular Economy” ในวันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้า กรุงเทพฯ เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ “พัฒนาความร่วมมือระหว่างไทยและเกาหลีใต้ในการสร้างนวัตกรรมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อเมืองฉลาดรู้ที่ยั่งยืน” ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เพื่อผลักดันให้เกิดระบบการจัดการ ขยะพลาสติก ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยอาศัยการประยุกต์เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาระบบติดตามขยะพลาสติก และพัฒนาถังขยะอัจฉริยะ (Smart bin) ส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการจัดการขยะพลาสติกอย่างเป็นระบบในประเทศไทย
ในงานนี้ได้รับเกียรติจากภาครัฐ ได้แก่ ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม คุณไชยา บุญชิต ผู้อานวยการส่วนแผนงานและประมวลผล กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ รวมถึง คุณพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ด้านสิ่งแวดล้อม) สานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “A vision for a future free from plastic pollution” ซึ่งเป็นมุมมองของภาครัฐต่อการจัดการปัญหาขยะพลาสติก พร้อมกันนี้ยังมีช่วงเสวนาหัวข้อ “Unlocking the Plastics Circular Economy: Waste value chain” ที่ได้รับเกียรติจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะพลาสติกโดยภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลักดันให้เกิดการจัดการปัญหาขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร.วนิดา แก่นอากาศ หัวหน้าโครงการวิจัย อาจารย์ประจาภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย ได้แก่ การพัฒนาแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างไทยและเกาหลีใต้ในการส่งเสริมนวัตกรรมไทยเข้าสู่ตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การพัฒนานวัตกรรมผลงานต้นแบบที่เกิดจากความร่วมมือไทยและเกาหลีใต้ที่ใช้งานจริงในพื้นที่ทดสอบของไทย สามารถนาแนวทางของการดาเนินการธุรกิจร่วมจากนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการนี้สาหรับ การพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจากการจัดการขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวต่อไปในอนาคต และเพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยคัดแยกขยะที่มีประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าที่ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมดาเนินการปฏิบัติในพื้นที่จริง โครงการได้ดาเนินการเสร็จสิ้นแล้ว จากผลการศึกษา พบว่า การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ในการพัฒนา และออกแบบถังขยะอัจฉริยะ เพื่อให้สะดวกต่อการแยกทิ้งขยะพลาสติก เกิดการจัดการ ขยะพลาสติกอย่างถูกต้อง และสามารถนาเอาทรัพยากรกลับมาใช้ซ้าตามหลัก BCG Model และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ รวมถึงจากการทดลองใช้ระบบ Digital Circular Economy หรือ DCE ในการติดตามขยะพลาสติก ร่วมกับระบบปัญญาประดิษฐ์ (A.I.) ในการแยกประเภทขยะพลาสติก เพื่อให้เกิดการทิ้งขยะพลาสติกลงในถังที่ถูกต้อง ทาให้พลาสติกแต่ละประเภทเข้าสู่ระบบการจัดการที่เหมาะสม รวมถึงแสวงหาภาคีเครือข่ายภาคธุรกิจเข้ามาร่วมดาเนินงานโครงการเพื่อนาขยะพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี การให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่าอย่างยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร. ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล รองผู้อานวยการ ด้านกลยุทธ์วิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวถึง ภารกิจของหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ ทั้งนี้ การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจ สีเขียว (BCG in Action) ให้กับนักวิจัยร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชนไทยผ่านการทางานร่วมกันระหว่างเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ โครงการนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเครือข่าย และต้นแบบของระบบ A.I. เพื่อช่วยจาแนกชนิดของขยะพลาสติก และระบบติดตามขยะพลาสติก รวมถึงการศึกษาแรงจูงใจ ปัจจัย และพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจาแนกชนิดขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยืนต่อไป