กิจกรรม

บพข. ร่วมกับตำรวจผลักดันเมืองอัจฉริยะป้องกันอาชญากรรม

นำร่องการใช้งานระบบ AI Security Platform เพื่อใช้งานดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ ในการตรวจจับป้ายทะเบียน ระบบตรวจจับใบหน้า การติดตามวัตถุ การค้นหาเป้าหมาย พฤติกรรมที่สนใจ พร้อมระบบแสดงผลความละเอียดสูง จัดพื้นที่ Sandbox โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน

9 ธันวาคม 2565 : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) แผนงานกลุ่ม Global Partnership ได้จัดกิจกรรม Workshop สรุปผลการทดลองใช้ ระบบ AI Security Platform จากข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการด้านการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรม 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อกิจการงานตำรวจ ซึ่งเป็นนวัตกรรม AI เพื่อใช้ในการตรวจจับป้ายทะเบียน ตรวจจับใบหน้า วัตถุต้องสงสัย หรือพฤติกรรมที่สนใจ ผ่านระบบกล้องวงจรปิด ที่ออกแบบให้สามารถติดตาม วิเคราะห์วัตถุ และแสดงผลวัตถุบนแผนที่ที่มีความละเอียดสูง รวมทั้งค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล แชร์ข้อมูลได้ในระยะไกล โดยสามารถแจ้งเตือนอย่างรวดเร็วผ่านระบบ 5G ซึ่งระบบ AI Security จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัย ป้องกันอาชญากรรม และตามตัวคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ AI Security ภายในพื้นที่ Sandbox สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อน นโยบายและแนวทางเพื่อความปลอดภัยขั้นสุดของเมืองระดับมหานคร ในโครงการ “สมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข อดีต ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. โครงการ “Smart Safety Zone 4.0”

เครดิต : ไทยรัฐออนไลน์ รายละเอียด “สมาร์ทเซฟตี้โซน 4.0” https://www.thairath.co.th/news/local/2453260

บพข. นำโดย Jeong Hyop Lee, Ph.D ที่ปรึกษาอาวุโส บพข. พร้อมด้วย ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์ม บพข. บริษัท พอยท์ ไอที คอนซัลทิ่ง จำกัด บริษัท FATOS และบริษัท InnoDep Inc ได้เข้าจัดกิจกรรม Workshop ทดสอบประสิทธิภาพระบบ Smart Security โดยมี พล.ต.ต อำนาจ เดชบุญเหลือง ผู้บังคับการศูนย์ฝึกตำรวจ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ประธานในพิธีกล่าวต้อนรับ พล.ต.ต.อำนาจ กล่าวว่า “การประชุมเชิงปฏิบัติการในการสาธิตนวัตกรรมอัจฉริยะความร่วมมือระหว่างเกาหลีใต้และประเทศไทยในด้านระบบชาญฉลาดสำหรับรักษาความปลอดภัย ซึ่งได้มีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ไปเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ถือเป็นเริ่มจุดเริ่มต้นสำคัญสำหรับงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้การสื่อสาร 5G เพื่อใช้ในภารกิจตำรวจ ทางด้านวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี ประสบการณ์และต่อยอดระบบระหว่างกัน โดยเป็นการสาธิตการเชื่อมต่อระบบกับระบบเดิมของโรงเรียนนายร้อยตำรวจภายใต้สถาวะจริง “

นวัตกรรมอัจฉริยะระบบชาญฉลาดสำหรับรักษาความปลอดภัย นำร่อง โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน

แผนงาน Global Partnership กับการพัฒนาความร่วมมือในการการถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกับต่างประเทศ เพื่อต่อยอดนวัตกรรมดิจิทัลปัญญาประดิษฐ์ระบบรักษาความปลอดภัยคนไทย


ระบบ AI Security Platform ดังกล่าวถูกพัฒนาภายใต้ “โครงการพัฒนาความร่วมมือนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ ความร่วมมือระหว่างเกาหลีใต้และไทย ในด้านระบบชาญฉลาดสำหรับการรักษาความปลอดภัย” โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก บพข. แผนงาน Global Partnership ร่วมกับบริษัท พอยท์ ไอที คอนซัลทิ่ง จำกัด เพื่อยกระดับการป้องกันอาชญากรรมและการรักษาความปลอดภัยสาธารณะของประเทศ โดยมี ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นหัวหน้าโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเกาหลีใต้และไทยในการนำนวัตกรรมไทยเข้าสู่ตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง SME Start Up ด้านกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ Smart City ของไทย จากความร่วมมือยังดังกล่าว ทำให้เกิดการถ่ายทอดนวัตกรรม อาทิ นวัตกรรมการแสดงผลเรียวไทม์ของการทำ Object Tracking ระบบ AI Edge Computing ที่หัวกล้องวงจรปิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผล และเกิดแนวทางในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน อาทิ ระบบ CDP (Customer Data Sharing) กลุ่มบริษัทพัฒาเมือง และ Smart City Alliance ของไทย

ผศ.ดร.วรรณรัช กล่าวว่า ระบบ AI Security Platform ที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก บพข. ในการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน MAP ร่วมกับประเทศเกาหลี เพื่อเชื่อมระบบการทำงานและ นำร่องใช้งานของทางตำรวจหรือฝ่ายความมั่นคง นอกจากนี้ยังได้มีการเตรียมนำ platform ออกสู่ตลาดอาเซียน โดยมี Fatos บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ดูแลแผนที่ประเทศเกาหลีใต้ และ innodept บริษัทระบบรักษาความปลอดภัยประเทศเกาหลีใต้ เป็น Partner ร่วมกับบริษัท Point IT consulting

ระบบ AI Security Platform ที่ใช้ในพื้นที่ Sandbox โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน เป็นระบบ local platform ในระดับหน่วยย่อยที่สุดของสถาปัตยกรรม National AI Security Platform ซึ่งความสามารถของ local level platform นี้จะรองรับกล้อง CCTV ไม่เกิน 1,000 ตัว ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบศูนย์บัญชาการกลาง ที่ออกแบบให้สามารถถ่ายข้อมูลได้สะดวก และลดความเสี่ยงความเสียหาย ซึ่งเป็นต้นแบบการกระจายระบบปฏิบัติการแต่ละภูมิภาคที่สามารถรวมศูนย์การเชื่อมต่อและถ่ายทอดข้อมูล
รวมถึงระบบนี้ สามารถทำงานประมวลผล การวิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูล ที่สามารถต่อยอดสำหรับงานด้านสืบสวนสอบสวน ถือเป็นแนวทางในการพัฒนาแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ ‘National AI Plan’


อ่านรายละเอียด AI Thailand ได้ที่นี่ https://www.salika.co/2022/12/09/ai-thailand-roadmap

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *