ข่าว

Becoming an entrepreneurial university building bridges and shaping the future

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จัดงาน Becoming an entrepreneurial university building bridges and shaping the future ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สยามสแควร์ โดยเป้าหมายการจัดงานครั้งนี้เพื่อให้เกิดเวทีการถ่ายทอดประสบการณ์ การสร้าง entrepreneurial university และเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง University of Strathclyde, UK  ร่วมกับ หน่วยงานวิจัย มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

รศ.ดร. ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล รักษาการรองผู้อำนวยการกลุ่มงานด้านกลยุทธ์วิจัย บพข. ได้กล่าวเปิดงาน “บพข. จัดสรรทุนวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการของประเทศไทย และยิ่งไปกว่านั้น เรายังเป็นส่วนหนึ่งของผู้สร้างระบบนิเวศนวัตกรรม และมีความมุ่งมั่นและความท้าทายในการลดช่องว่างระหว่างการวิจัยไปสู่นวัตกรรมและการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ที่มีผลกระทบอย่างแท้จริง”

กิจกรรมภายในงาน ได้เปิดเวทีแชร์ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญจาก University of Strathclyde ในประเด็น Special seminar “Food for thought Vision, Impact, and path forward for entrepreneurial Universities” โดย

-Gillian Docherty CBE FRSE, Chief Commercial Officer

-Professor Duncan Graham FRSE, Associate Principal & Executive Dean, Faculty of Science

-Julian Taylor, Managing Director, International Operations

ได้แชร์เรื่องราวที่ทางมหาวิทยาลัยได้สั่งสมประสบการณ์กว่า 50 ปี บนเส้นทางการเป็น Entrepreneurial Universities และการที่มหาวิทยาลัยเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการสร้าง Glasgow Innovation District ซึ่งใช้กลไกการผลักดัน Infrastructure ของมหาวิทยาลัยเชื่อมโยง Academics, businesses, industry และ public sectors เช่น Technology & Innovation Centre (TIC), National Manufacturing Institute Scotland (NMIS), และ Medicines Manufacturing Innovation Centre ที่สามารถดึงดูดบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกให้เข้ามาลงทุนและร่วมทำวิจัยกับทางมหาวิทยาลัยได้ เช่น Boeing, Rolls Royce, Siemens เป็นต้น รวมถึงการสร้าง leadership and culture ที่จะช่วยผลักดันความสำเร็จนี้

นอกจากนี้ นี้ Julian Taylor ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ Experience sharing: Insights from the “Research Executive Training Deep Dive Program (TREX) Program” for the University Management team  โดยมี ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ที่ปรึกษา บพข. เป็นผู้ดำเนินการสัมภาษณ์ ซึ่งในโอกาสนี้ ผศ.ดร.อัครวิทย์ ได้เล่าถึงที่มา และเป้าหมายของ โปรแกรม TREX และได้เชิญผู้เข้าร่วมอบรมจากมหาวิทยาลัยมาร่วมแชร์ประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมฝึกอบรม รวมถึงประโยชน์ และการต่อยอดหลังจากนำมาปรับใช้ในประเทศไทย

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *