
สนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม แพลตฟอร์มการพัฒนาธุรกิจรูปแบบความร่วมมือใน Value Chain ที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน
ขอบเขตงานวิจัย
N5 (S1P4) ใช้นวัตกรรมสร้างรูปแบบธุรกิจใหม่จากโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
1.การพัฒนาแพลตฟอร์มรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Platform) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์
การพัฒนา Solution Platform เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการเปลี่ยน ผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เกี่ยวข้องในห่วง โซ่คุณค่า เช่น Circular Design Platform, CE Accelerator Platform, CE Clearing House, CE Matchmaking Platform, Circular Hub เป็นต้น
2.การพัฒนาต้นแบบความร่วมมือใน Value- chain เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่มีผลกระทบสูง (CE Champion)
การพัฒนาต้นแบบโมเดลธุรกิจปิดวงจร (Closed loop business) โดยพัฒนารูปแบบความร่วมมือ/กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้เกิด ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างครบวงจร และสามารถสร้างการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ ใน Value chain ของธุรกิจ
3.การพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ ที่เน้น “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์บริการ” (product as a service) เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
4.การพัฒนาปัจจัยเอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Enablers) และสังคมคาร์บอนต่ำ เน้นประเด็นการรับมือและมาตรการเชิงรุก ต่อกลไกการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ของสหภาพยุโรป เช่น การจัดทำ ค่าการปล่อยคาร์บอน (Carbon Emission Factors) ของอลูมิเนียม, พลาสติก โดยเฉพาะส่วนที่มีการหมุนเวียนใช้ซ้ำหรือรีไซเคิล เป็นต้น
N6 (S1P4) พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามหลักการออกแบบหมุนเวียน (Circular Design) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Resource Efficiency) และลดการใช้ทรัพยากรใหม่
1.การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น การใช้วัตถุดิบรอบสอง, การพัฒนา mono-material packaging, การอัพไซเคิล-รีไซเคิล, นวัตกรรมบริการ (CE RDI) สำหรับกลุ่มสาขาหรือผลิตภัณฑ์เป้าหมาย 1 ใน 4 กลุ่ม ได้แก่
1.1 กลุ่มกากอุตสาหกรรม
1.2 กลุ่มพลาสติกและบรรจุภัณฑ์
1.3 กลุ่มวัสดุอาคารและการก่อสร้าง
1.4 กลุ่มอื่น ๆ เช่น แผงโซลาร์เซลล์หลังหมดอายุใช้งาน แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่หลังหมดอายุการใช้งาน รวมทั้งนวัตกรรมบริการ (Product as a service) และ CE For decarbonization
รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน และการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Utilization (CCU)) เพื่อหมุนเวียนใช้ประโยชน์จากคาร์บอนไดออกไซด์ และลดการปล่อยออกสู่บรรยากาศ
2. การพัฒนาปัจจัยเอื้อเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น ข้อมูลฐาน, ตัวชี้วัด, มาตรฐาน, ระบบรับรอง, การทดสอบ, นโยบาย มาตรการ และกฎระเบียบ (CE Enabling Factors) โดยมีขอบเขตของฐานข้อมูลการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) และ Material flow ของประเทศ การพัฒนาระบบตัวชี้วัดและมาตรฐานของเศรษฐกิจหมุนเวียน และมาตรฐาน/การทดสอบคุณสมบัติวัสดุรอบสอง หรือ การพัฒนาเมืองเศรษฐกิจหมุนเวียนนำร่อง เช่น Amata model เป็นต้น
ตัวอย่างโจทย์วิจัย
- นวัตกรรมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ และการพัฒนาตลาดและผลิตภัณฑ์ใหม่ด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
- Digital Platform เพื่อบริหารจัดการข้อมูลของเสีย
- โรงงานต้นแบบการแปรรูปของเหลือทิ้ง
- ศูนย์ทดสอบคุณสมบัติวัสดุรอบสอง
- การวิจัยและพัฒนาด้าน Material Flow, Circular Technology & Design ที่ช่วยลดการใช้ทรัพยากรใหม่ การพัฒนาอุตสาหกรรมรีไซเคิลวัสดุและเคมีมูลค่าสูง
- การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาคลังข้อมูลวัฏจักรชีวิต ระบบทวนสอบ และมาตรฐานฟุตพรินต์สิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐานสากล
- การวิจัยและพัฒนามาตรฐานและตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน