กิจกรรม

บพข. วางรากฐาน เครื่องจักรนวัตกรรม Freeze Dry ที่ได้มาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมเกษตร

ประเทศไทยจุดเด่นด้านความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ พืช ผัก ผลไม้คุณภาพสูง เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ด้านอาหารของ บพข. ในการพัฒนาอาหารเชิง function เพื่อส่งเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากการผลิตอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน อาหารกึ่งสำเร็จรูป นวัตกรรม Freeze dry เป็นตัวตอบโจทย์การแปรรูปอาหาร เปลี่ยนผลผลิต วัตถุดิบทางการเกษตร ให้เป็นอาหารที่มีสรรพคุณทางยา ซึ่งนาซ่าเป็นต้นแบบแนวความคิดการผลิตอาหารให้มีคุณภาพสูง น้ำหนักเบาเก็บรักษาง่าย การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งคือโดยการแช่เยือกแข็งวัตถุดิบในสภาวะที่อุณหภูมิและความดันต่ำ และระเหิดน้ำแข็งให้กลายเป็นไอ ซึ่งจะช่วยรักษาสารสำคัญ และคุณสมบัติพิเศษที่มีอยู่ในอาหาร ในปัจจุบันเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งเป็นที่นิยมของธุรกิจการผลิตอาหารคุณภาพสูง มีผู้ประกอบการนำมาเป็นองค์ประกอบในการผลิตสินค้ามากขึ้น ซึ่งเครื่องที่นำมาใช้มีคุณภาพ และราคาที่แตกต่างกัน การทดสอบคุณภาพของเครื่องแช่เยือกแข็งจึงเป็นสิ่งจำเป็นในอุตสาหกรรมอาหารของไทย
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 คณะอนุกรรมการแผนอาหารมูลค่าสูง ได้เข้าเยี่ยมชม หน่วยทดสอบสมรรถนะเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จากการสนับสนุนทุนวิจัยจาก บพข. โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตั้งอยู่ภายใน Factory Classroom ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.

คณะอนุกรรมการแผนอาหารมูลค่าสูงเข้าเยี่ยมชมโครงการหน่วยทดสอบสมรรถนะเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งและหน่วยทดสอบมาตรฐานเครื่องจักรแปรรูปอาหาร โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา

ที่ได้พัฒนาหน่วยทดสอบเพื่อกำหนดวิธีทดสอบ และทดสอบสมรรถนะเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง เพื่อให้บริการทดสอบในด้านต่างๆ ได้แก่การทดสอบความสามารถของระบบสุญญากาศในการลดความดันภายในเครื่อง การรั่วไหลของความดันภายในเครื่อง ความสามารถของระบบทำความเย็นและระบบทำความร้อนการดักจับไอ และควบแน่นน้ำสูงสุด การกระจาย อุณหภูมิภายในเครื่อง รวมไปถึงการใช้พลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ยังให้บริการการให้คำปรึกษาการออกแบบโรงงานและกระบวนการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง หน่วยทดสอบสมรรถนะเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งจึงถือเป็นศูนย์รวมของผู้ผลิต และผู้ใช้งานของเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งของประเทศ

หน่วยทดสอบสมรรถนะเครื่องทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง

นอกจากนี้ สจล. ยังมีโครงการพัฒนาหน่วยทดสอบมาตรฐานเครื่องจักรแปรรูปอาหาร ตั้งอยู่ในภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้บริการด้านการทดสอบสมรรถนะเครื่องจักรแปรรูปอาหารให้เป็นไปตามสุขลักษณะตามมาตรฐาน ISO14159 ,EN1672-2 ตามแนวปฏิบัติตามมาตรฐานของ European Hugienic Engineering and Design Group (EHEDG) เพื่อป้องกันอันตรายสู่ผลิตภัณฑ์ ทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ โดยพิจารณาจากวัสดุโครงสร้างที่สัมผัสกับอาหาร การเตรียมพื้นผิววัสดุ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือเทคโนโลยีระดับสูง และใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ ประเมินผล โครงการนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากมาตรฐานต่างๆ และออกแบบ Hygienic Equipment Design Checklists ในการประเมินร่วมกับการตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ เช่น ค่าความหยาบผิวของสแตนเลสสตีลว่ามีค่าความเรียบอยู่ในเกณฑ์หรือไม่ หรือ การตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ เพื่อดูเกรดของสแตนเลสว่ามีความเหมาะสมกับการใช้งานด้านการผลิตอาหารหรือไม่ รวมไปถึงการหาองค์ประกอบของโลหะอื่นๆ เช่น ทองแดง ทองเหลือง เป็นต้น หน่วยทดสอบมาตรฐานสุขลักษณะเครื่องจักรแปรรูปอาหาร ให้บริการทั้งในและนอกสถานที่ รวมถึงให้บริการการจัดทำรายงานเชิงเทคนิค การบริการให้คำปรึกษา การอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบตามหลักสุขลักษณะโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองจาก EHEDG สหภาพยุโรป ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารของไทยสู่ระดับสากล

หน่วยทดสอบมาตรฐานเครื่องจักรแปรรูปอาหาร

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *