ข่าว

เปิดเส้นทางทุนวิจัย กับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ประมวลภาพบรรยากาศการเสวนาออนไลน์ zoom webinar “การเปิดเส้นทางทุนวิจัย กับหน่วยบริการและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)” ในวันที่สอง

เพื่อนำเสนอบทบาทหน้าที่และรูปแบบการให้ทุนสนับสนุนของ บพข. ต่อเนื่องจากเมื่อวาน (1 ก.ค. 2563) พร้อมคำแนะนำต่อนักวิจัยและภาคอุตสาหกรรมที่สนใจร่วมลงทุน โดยแบ่งออกเป็น 4 Sections

โดยช่วงแรกได้รับเกียรติจาก ศ.ดร. ภาวิณี ชินะโชติ และ รศ.ดร. วาณี ชนเห็นชอบ คณะอนุกรรมการแผนงานเกษตรและอาหาร บพข. มาชี้แจงเกี่ยวกับกรอบการให้ทุนวิจัยด้านเกษตรและอาหาร ซึ่งเน้น “การพัฒนาผลิตผลการเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพมูลค่าสูง” มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยี ระบบการผลิต และเครื่องจักรกลที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความยั่งยืน เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรและอาหาร สร้างมาตรฐานและความปลอดภัย และสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ที่สามารถขยายขนาดการผลิตออกสู่เชิงพาณิชย์ได้

ใน Section ที่ 2 ศ.ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัยประธานคณะอนุกรรมการแผนงานพลังงาน เคมี และวัสดุชีวภาพ บพข. ได้ให้เกียรติมาชี้แจงเรื่อง”การสนับสนุนโครงการด้านพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ” สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตเกษตร ต่อยอดสู่อุตสาหกรรมใหม่ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้โจทย์วิจัยเพื่อขอรับทุนใน 4 หัวข้อ ได้แก่

  1. ชีวมวล
  2. พลังงานชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพ
  3. พลาสติกชีวภาพ
  4. สารเคมีชีวภาพ

เน้นภาคอุตสาหกรรมต้องนำไปต่อยอดใช้ได้จริง

ต่อกันในภาคบ่าย กับ Section ที่ 3 : “AI in actions for BCG sustainable development” ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต และ ดร.อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร คณะอนุกรรมการแผนงานดิจิทัลแพลตฟอร์ม บพข. มาชี้แจงและตอบคำถามเกี่ยวกับโจทย์วิจัยด้าน Digital Technology ที่จะมีบทบาทเข้าไปหนุนเสริมอุตสาหกรรมในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ เพื่อเป้าหมายให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นนำในการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลและชีวิตในยุค New normal

ปิดท้ายการเสวนาออนไลน์ zoom webinarกับ รศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา และ ดร.ธนาคาร วงษ์ดีไทย คณะอนุกรรมการแผนงานระบบคมนาคมแห่งอนาคต บพข. ซึ่งให้เกียรติมาไขข้อสงสัยและให้ความกระจ่างชัดกับงานวิจัยด้าน “Technology Localization” โดยมีเป้าหมายให้ภาคอุตสาหกรรมและนักวิจัยไทยมีการร่วมมือพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย เพื่อสร้างความยั่งยืนด้านเทคโนโลยีของประเทศไทย ด้วยการสร้างเทคโนโลยีที่เป็นของตัวเอง เพื่อแก้ปัญหาของภาคอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญเร่งด่วน และสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจสูง โดยเน้นไปที่ 2 กลุ่มหลัก คือ ระบบคมนาคมแห่งอนาคต (Future Mobility) และ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation)

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามบทสรุปของแต่ละ Section ได้ใน Facebook Fanpage : หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *