ข่าว

‘น้ำมันหม้อแปลงจากปาล์ม’ นวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มให้ปาล์มน้ำมันไทย

โครงการวิจัยสำคัญของแผนงานกลุ่มพลังงานเคมีและวัสดุชีวภาพ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ตามยุทธศาสตร์ของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2566 – 2570 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ เปลี่ยนผลิตผลทางการเกษตรหรือของเหลือทิ้งในกระบวนการผลิตหรือการบริโภค รวมถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียนและพลังงานชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ พลาสติกชีวภาพ สารเคมีชีวภาพ พลังงานชีวภาพในการผลิตไฟฟ้าเพื่อทดแทนถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับและการแปรรูปคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัสดุและสารเคมีมูลค่าสูง นอกจากนี้แผนงานกลุ่มพลังงานฯ ยังมีภารกิจในการพัฒนามาตรฐาน ระเบียบวิธีการเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก การรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิต เป็นต้น โดยมีคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มพลังงานฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถร่วมการพิจารณาให้ทุนสนับสนุนอย่างเข้มข้น มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่บ่งบอกความพร้อมของเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ได้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากงานวิจัย เกิดการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง สามารถผลักดันการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศได้อย่างแท้จริง


ดังตัวอย่างโครงการวิจัยด้านการพัฒนาพลังงานชีวภาพจากพืชเศรษฐกิจไทย คือปาล์มน้ำมัน คือโครงการพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์มและการนำร่องทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการและผลักดันให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน โดยโครงการวิจัยนี้มี ดร.บุญญาวัณย์ อยู่สุข หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิง ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหัวหน้าโครงการ โครงการนี้เป็นโครงการ Top Down ที่คณะกรรมการแผนงานกลุ่มพลังงานฯ ให้ความสนใจอย่างมาก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดการใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำมันปาล์ม ตามนโยบายของภาครัฐ ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG in Action) ในแผนงานย่อยด้านการพัฒนาพลังงานเคมีชีวภาพและพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อต่อยอดอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ การวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy)

โครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ที่ล้วนเป็นองค์กรหลักที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า ตั้งแต่ผู้ที่มีศักยภาพในการผลิตและจำหน่ายน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ ได้แก่บริษัท พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ จำกัด (มหาชน) (PSP Specialties PCL) บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ผู้ใช้งานหลักของหม้อแปลงไฟฟ้าของประเทศอย่างการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ร่วมทั้งหน่วยงานจัดทำมาตรฐานสินค้าของประเทศ เป็นการบูรณาการความร่วมมือที่ร่วมกันผลักดันงานวิจัยเพื่อให้เกิดการใช้งานผลิตภัณฑ์ชีวภาพ “น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์มเชิงพาณิชย์” ในประเทศไทย

และลองมาฟังมุมมองของผู้บริหารของ PSP Specialties PCL ที่ถือเป็นต้นแบบของผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์พลังงานที่มาจากแหล่งพลังงานทางเลือกและส่งให้ประเทศไทยเป็นผู้นำเทคโนโลยีการผลิตนวัตกรรมพลังงาน ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาการนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันหม้อแปลงจากต่างประเทศ

คลิ๊ก เพื่ออ่านรายละเอียด

https://www.salika.co/2022/07/07/psp-specialties-bio-transformer-oil-from-palm-oil/

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *