ผลงานเด่น

บพข. เร่งงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

แผนงานกลุ่ม Deep Science and Tech Accelerator Platform มุ่งส่งเสริมหน่วยงานวิจัยของภาครัฐและเอกชน ในการสร้าง Innovation Management System และ Accelerator Platform เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการนำองค์ความรู้และผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งเร่งงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีอยู่ในหน่วยงานภาครัฐ หรือมหาวิทยาลัย ให้สามารถพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพิ่มศักยภาพให้แก่ประเทศไทยให้มีโอกาสเติบโตในตลาดที่มีมูลค่าสูง โดยร่วมกับ 9 มหาวิทยาลัย และ 1 หน่วยงานวิจัย สร้างแพลตฟอร์มเร่งรัดงานวิจัยและนวัตกรรมในหลายสาขา

ตลอด 3 ปี ที่ผ่านมา บพข. ได้ร่วมผลักดันให้เกิดแพลตฟอร์มเร่งรัดการนำผลงานวิจัย และนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์ โดยร่วมกับ 9 มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะเทคนิคการแพทย์ และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (UTC)  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เทคโนธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รวมทั้งได้สนับสนุน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการสร้างแพลตฟอร์มผลักดันวิทยาศาสตร์เชิงลึกให้เกิดการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์

โครงการจัดตั้งศูนย์เร่งรัดและพัฒนานวัตกรรมชุดทดสอบน้ำยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์สู่การใช้ ประโยชน์เชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการโรงงานต้นแบบเพื่อการพัฒนาชุดทดสอบน้ำยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่ง บพข. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยแก่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยโรงงานต้นแบบ และห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากงานวิจัย ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งเป็นช่องทางในการให้คำปรึกษาด้านการผลิตตลอดจนเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจนำไปสู่การค้าในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งยังเป็นตัวกลางในการรักษาและดูแลผลประโยชน์ทางการตลาดแก่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากงานวิจัย ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาข้อกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า เพื่อให้เกิดการแข่งขันได้จริงในตลาด ถือเป็นแพลตฟอร์มบ่มเพาะและพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมจากงานวิจัยในระดับ TRL 4-5 ที่สามารถผลักดันออกสู่ตลาด ได้หลายผลิตภัณฑ์ อาทิ ผลิตภัณฑ์ชุดทดสอบโรคฉี่หนูในขั้นตอนเดียว ยี่ห้อ LEP-M Plus หรือ ชุดทดสอบโปรตีนตกค้างบนพื้นผิวสัมผัสอาหาร ยี่ห้อ Y-Blue ซึ่งเป็นนวัตกรรมทดสอบคราบโปรตีนที่ตกค้างบนพื้นผิวสัมผัสอาหารที่มีความไวสูง สามารถตรวจพบโปรตีนซึ่งมีอนุภาคที่น้อยกว่า 50 ไมโครกรัมได้ และมีความไวกว่าน้ำยาทดสอบที่จำหน่ายในท้องตลาดโดยทั่วไป ซึ่งโปรตีนที่ตกค้างนอกจากจะเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียแล้วยังมีผลต่อผู้ที่แพ้โปรตีนอีกด้วย สามารถใช้ทดสอบได้ทั้งโปรตีนพืชและสัตว์ เป็นต้น

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (UTC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฟ้น ” ทีมโปรเจกต์ ” ดันนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์

โดยเน้นทำงานกับงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเชิงลึก 3 ประเภท ได้แก่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีทางการแพทย์ (MedTech) และเทคโนโลยีชีวภาพ (BioTech) โดยวิธีการทำงานเริ่มต้นจากการเฟ้นหางานวิจัยเทคโนโลยี Deep Tech และทำงานใกล้ชิดกับทีมวิจัย เพื่อยกระดับความพร้อมด้านธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมุ่งเป้า โดย UTC พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรมาทำงานร่วมกัน ในรูปแบบ “ทีมโปรเจกต์” ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโครงการนวัตกรรม ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการกระบวนการพัฒนานวัตกรรมและแผนธุรกิจ ที่จะมาช่วยให้คำแนะนำในกระบวนการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในแต่ละขั้นตอน เช่น การพัฒนาโมเดลธุรกิจ การทดสอบตลาด การเลือกวิธีการดำเนินการเชิงพาณิชย์ เป็นต้น รวมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจและกลยุทธ์สิทธิบัตร ที่จะมาช่วยให้คำแนะนำในการวางแผนกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรเช่น IP Landscape การขึ้นทะเบียนอาหารและยา นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้าน เช่น การพัฒนางานวิจัยที่ต้องการประยุกต์เทคโนโลยี AI เพื่อไปใช้งานทางการแพทย์ จะมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาแพทย์ที่ให้คำแนะนำด้านการทำ Clinical Trial ระบบการเบิกจ่าย หรือกลยุทธ์ในการสร้างการยอมรับในการใช้งานโดยแพทย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโค้ชจากภายนอกจุฬาฯ มาให้คำแนะนำระหว่างการพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ ศิษย์เก่าจุฬาฯ นักธุรกิจ ผู้ที่ทำงานด้านสังคม อีกด้วย

ตัวอย่าง Start Up เด่น ที่ผ่าน UTC และผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดได้สำเร็จ อาทิ ReadMe by eikonnex.ai โดยทีมนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถอ่านข้อความภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสัญลักษณ์บนเอกสาร ภาพ และวีดิโอ แล้วนำมาแปลงเป็นข้อมูลเอกสารดิจิทัล ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดใช้งานจริงได้หลากหลาย เช่น การเก็บเอกสารทางการเงินของฝ่ายบัญชีในบริษัท การประเมินคะแนนเครดิต (Credit Scoring) สำหรับการกู้เงินของธนาคาร

Readme AI

Aqua Innovac วัคซีนสูตรน้ำไร้เข็มสำหรับปลาที่เลี้ยงในฟาร์ม โดยทีมนักวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นนวัตกรรมป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกเน่า-ตัวด่าง และลดอัตราการเสียชีวิตของปลาจากความเครียดหลังจากได้รับการฉีดวัคซีนด้วยเข็มฉีดยา อีกทั้งเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการทำฟาร์มปลา

AQUA INNOVAC

DeepGI โดยทีมนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยตรวจจับก้อนเนื้อมะเร็งในลำไส้ผ่านการส่องกล้อง สนับสนุนการวินิจฉัยของแพทย์และลดความผิดพลาดในการตรวจ

DEEP GI

อ่านรายละเอียด https://www.chula.ac.th/highlight/65548/

โครงการบ่มเพาะต้นแบบผลิตภัณฑ์ด้านนวัตกรรมเพื่อเร่งการพัฒนาคุณลักษณะที่พร้อมใช้เชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ได้ต้นแบบ และผลผลิตทางเทคโนโลยีโดยร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชนในหลายโครงการ อาทิ เทคโนโลยีอากาศยานไร้นักบินปรับทิศ แรงขับดัน สำหรับสำรวจถนน เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ATV ขนของภายในโรงพยาบาล เทคโนโลยี Postprocessing ด้วยระบบ IOT รองเท้าอิเล็กทรอนิก Surasole และปัญญาประดิษฐ์สำหรับระบบแพทย์ระยะไกลในผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและผู้สูงอายุ ชุดตรวจชนิดพกพาต้นแบบเข้าถึงชุมชนห่างไกลเพื่อการตรวจวัดสารบ่งชี้ภาวะมะเร็ง เทคโนโลยีการวิเคราะห์ตัวชี้วัดคุณสมบัติของน้ำยาโพลิเมอร์เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติดินซีเมนต์สำหรับพร้อมใช้งาน

2 ปี กับการเร่งรัด START UP จากโครงการแพลตฟอร์มเร่งรัดการเติบโตธุรกิจที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงลึก สวทช.

โครงการ NSTDA Deep Tech Acceleration Platform ได้รับการสนับสนุนจาก บพข. มีเป้าหมายในการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศโดยการสร้างธุรกิจใหม่ที่มาจากฐานเทคโนโลยีเชิงลึกตามนโยบาย บพข. ในการสร้างกลไกที่ช่วยเร่งรัดพัฒนาธุรกิจ 2 ส่วนคือ ส่วนเทคโนโลยี โดยคัดเลือกจากหน่วยงานวิจัย และภาคการศึกษาที่มีความพร้อมในระดับต้นแบบ แต่ยังไม่มีความพร้อมในเชิงธุรกิจ จากนั้นนำมาเติมความสามารถในการไปสู่การผลิตระดับอุตสาหกรรม (Technology Development) ในเรื่องของมาตรฐานต่างๆ รวมไปถึงความสามารถในการพัฒนาตลาด การสร้างแบรนด์ กลยุทธ์การตลาด การขาย (Market Development) รวมไปถึงการพัฒนาพันธมิตรที่จะให้เงินลงทุนกับธุรกิจต่างๆ เพื่อช่วยเร่งรัดพัฒนาธุรกิจ ( Investment Development)

โดยการคัดเลือกผลงานวิจัยเชิงลึกที่มีการประเมินความพร้อมของงานวิจัยและเทคโนโลยี (Technology Readiness Level: TRL) ไม่น้อยกว่าระดับ 4 และมีศักยภาพทางด้านการตลาดใน 3 กลุ่มเทคโนโลยี ได้แก่ Food Technology, Healthcare Technology และ Internet of Things เพื่อผ่านกระบวนการบ่มเพาะ และขยับ TRL (Technology Rediness Level) และเตรียมความพร้อมด้านธุรกิจ โดยในปี 2563 ที่ผ่านมา มี Start Up ที่เข้าร่วมโครงการและได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานภายในงาน Demo Day Cohort # 1 หลายโครงการ อาทิ กลุ่มธุรกิจ Food Technology : นวัตกรรมเส้นโปรตีนไข่ขาว ไร้แป้ง ไร้ไขมัน แห่งแรกในประเทศไทย เทคโนโลยีการกำจัดมอด และไข่มอด โดยไม่ก่อให้เกิดสารเคมีตกค้าง กระบวนการผลิตน้ำส้มสายชูหมักที่มีต้นทุนต่ำและประสิทธิภาพสูง เป็นต้น

กลุ่มธุรกิจ Healthcare Technology อาทิ ระบบฝึกสมองแบบพกพา ลู่วิ่งสำหรับผู้สูงอายุ อุปกรณ์ช่วยลุกยืน หรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เป็นต้น

กลุ่มธุรกิจ Internet of Things อาทิ

แพลตฟอร์ม ” NSTDA Deep Tech Acceleration ” สวทช. ดัน 22 โครงการ เข้าร่วม Business Pitching ในงาน Demo Day Cohort # 2

รศ.ดร.ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล รองผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือ บพข. ในฐานะตัวแทน บพข. ขึ้นกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนของแผนงานกลุ่ม Deep Sciences and Technology Accelerator ว่า ” เราอยากเห็นการเกิดอุตสาหกรรม sector ใหม่ การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าสูงให้กับผลิตภัณฑ์ การร่วมมือกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน นำงานวิจัยมาสร้างสรรค์ ต่อยอด หลุดพ้นจากกับดัก OEM การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า รักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมขับเคลื่อนงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Science and Technology) ให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม สร้างผลิตภัณฑ์และบริการมูลค่าสูงออกสู่เชิงพาณิชย์ เกิดการนำงานวิจัยเชิงลึกออกไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เกิดธุรกิจใหม่ที่เป็นธุรกิจแห่งอนาคต และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต”

สวทช. มีความโดดเด่นในเรื่องระบบนิเวศวิจัยและนวัตกรรมที่พร้อมและรองรับธุรกิจเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถเตรียมทีมที่เป็นสตาร์ทอัพ ทั้งส่วนของ สวทช. และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ซึ่งถือเป็นการติดอาวุธให้กับทั้งผู้ประกอบการและนักวิจัยในมหาวิทยาลัยและใน สวทช. ให้มีความสามารถในทางธุรกิจและการตลาดมากขึ้น สามารถเห็นช่องทางการนำผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ไปสู่เชิงพาณิชย์ได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างขีดความสามารถให้ประเทศไทยมีความสามารถ และเพิ่มขีดความสามาถในการแข่งขันได้เร็วและแข็งแกร่งในระดับนานาชาติ ซึ่งหากไปถึงจุดนั้นได้ บพข.ก็พร้อมให้การสนับสนุนต่อเนื่อง” รศ.ดร.ชาลีดา กล่าว

ดร.เอกอนงค์ จางบัว ผู้อำนวยการเมืองนวัตกรรมอาหาร สวทช. กล่าวถึงการดำเนินโครงการ NSTDA Deep Tech Acceleration ปีที่ 2 ว่า 22 ทีม ที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนใหญ่เป็นนักวิจัย อาจารย์มหาวิทยาลัย และผู้ประกอบการทั่วประเทศ ได้รับการบ่มเพาะ และเตรียมความพร้อมด้านธุรกิจ รวมทั้งได้รับคำปรึกษาในการปรับปรุงผลงาน ติดตามการดำเนินงาน และแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิด หรือที่เรียกว่าระบบพี่เลี้ยง เพื่อให้ผลงานวิจัยเชิงลึกที่มีศักยภาพ สามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างความสำเร็จของ STRAT UP ที่ได้รับการเร่งรัดขับเคลื่อนจนประสบผลสำเร็จ

นวัตกรรมแปรงสีฟันระบบท่อดูด หรือ Suction Toothbrush โดย รศ.ทพญ.ดร.พัชราวรรณ ศรีศิลปนันทน์ หัวหน้างานเทคนิคและผู้ก่อตั้ง บริษัท อินโน-เอจ แลบอราทอรี จำกัด จากอาจารย์ประจำ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สู่ Start Up ที่ผ่านการเคี่ยวกรำจาก แพลตฟอร์ม ” NSTDA Deep Tech Acceleration ” จนส่ง แปรงสีฟันระบบท่อดูด และอุปกรณ์เสริมออกสู่ตลาดได้สำเร็จ

อ่านรายละเอียดได้ที่

นวัตกรรมกาแฟโคลด์อินฟิวชัน ” บรูว์ เฟลเวอร์ ” โดย สุรัมภา หยกโชติสกุล CEO บริษัท บรูว์ เฟลเวอร์ จำกัด  ผู้ผลิต Cold Infusion Coffee ที่สกัดด้วยการ Infusion น้ำเย็นเข้าในผงกาแฟ แล้วดึงรสชาติออกมา เมล็ดกาแฟคุณภาพ Specialty ทำให้มีรสชาติจัดจ้าน เข้มข้น ที่ถือเป็นกาแฟดำพรีเมี่ยม เก็บรสชาติของเบอร์รี่กว่าพันชนิด เจ้าแรกๆของโลก

อ่านรายละเอียดได้ที่

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *